วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Cloud Computing

















































  Cloud Computing คือ

           ”การประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ ระบบ จัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร” โดย JavaBoom Collection
หรือ คำนิยามจากวิกิพีเดีย ที่ว่า “Cloud Computing อ้างถึงทรัพยากรสำหรับการคำนวณผลที่ถูกเข้าถึง ซึ่งโดยทั่วไปถูกเป็นเจ้าของและถูกดำเนินการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 (third-party provider) ซึ่งได้รวบรวมพื้นฐานที่จำเป็นทั่วไปเข้าไว้ด้วยกันในตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center)  โดยผู้บริโภคบริการ cloud computing เสียค่าใช้จ่ายเพื่อความสามารถการคำนวณหรือการประมวลผลตามที่ต้องการ และไม่จำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจในเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งซ่อนอยู่ อันที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่าย (server)  อย่างไรก็ตามมีตัวเลือกสำหรับผู้พัฒนาที่ต้องรู้และต้องคำนึงถึงในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนของการบริการแพล็ตฟอร์ม (platform services)
การที่มีบางท่านให้คำนิยาม Cloud Computing ว่า “การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ”  นั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าอาจเป็นเพราะ Cloud Computing เป็นการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมายบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราเพียงแต่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่าทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย ทั้งที่อยู่ใกล้ ๆ หรือไกลออกไป เป็นการใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ จึงใช้สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆแทนที่ตั้งของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีไว้ ให้บริการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่สามแทน
มาถึงตรงนี้คงพอจะเห็นภาพของ Cloud Computing บ้างแล้ว จึงขอกล่าวถึงคำที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก เช่น
  • Cloud Provider สำหรับคำนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะหมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud นั่นเอง 
  • Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud
ความแตกต่างระหว่าง Cloud Computing กับ Hosting ประเภทต่างๆ เช่น  Application Hosting หรือพื้นที่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์, Web Hosting หรือพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์, File Hosting หรือพื้นที่ให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลนั้น อยู่ตรงที่ Cloud Storage มี อิสระในการปรับขีดความสามารถ สมรรถนะ และขนาดทรัพยากรได้ตามภาระงาน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการขยายทรัพยากรสำหรับผู้ให้บริการ เพราะมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการบุคคลที่สามที่เป็นผู้จัดหาและจัดสรร ทรัพยากรอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจำนวนโปรแกรมจะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมากขึ้นเท่าไร หรือต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ Cloud ไม่จำเป็นต้องกังวลในข้อจำกัดนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นจะขึ้นกับการจ่ายตามที่ใช้จริง (pay-per-use) และอาจมีเรื่องอื่นๆ อีกขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละเจ้าที่ให้บริการ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่มากมาย เช่น Google Apps, Google App Engine, IBM Blue Cloud, Amazon EC2 เป็นต้น

































































วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบ DLNA (Digitai Living Network Alliance)

  

 ระบบ DLNA (Digitai Living Network Alliance)

          DLNA คืออะไร?

         คำว่า DLNA  ย่อมาจากคำว่า  Digital Living Network Alliance  โดยหลักการที่น่าจะพอมองเห็นภาพง่ายๆก็คือ การทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ใดๆที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ท และรองรับระบบ DLNA ได้นั้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ Notebook โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่น บลูเรย์  หรือแม้แต่ AVRที่มีระบบ network ที่น้าๆใช้ดูหนังกันอยู่นี่ล่ะครับ โดยสามารถทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด หากต้องการจะดึงรูป เล่นเพลง หรือวีดีโอจากมือถือไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ก็สามารถทำการแชร์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องต่อสายให้ยุ่งยาก 

         ประโยชน์ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ipv4 ipv6

IPV4 และ IPV6 คืออะไร และต่างกันอย่างไร

IPv4 คืออะไร
   IPv4 คือ หมายเลข IP address มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท

IPv6 คืออะไร

    IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 บิท IPv6 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 6


ความแตกต่างของ IPv4 และ IPv6

    การกำหนดหมายเลขของ IPv4 จะกำหนดได้น้อยกว่า IPv6 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า และความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 คือ การเลือกเส้นทาง ( Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Networl Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)


คุณสมบัติของ IP v.6 ที่เหนือกว่า IP v.4

     IP V.6 มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า IP V.4 มากมาย ซึ่งสามารถสรุปคร่าวๆ ได้ 5 หัวข้อ ได้แก่ เรื่องการกำหนดแอดเดรส (Addressing), การปรับแต่งระบบ (Configuration), การรับส่งขอมูล (Data Delivery), การค้นหาเส้นทาง (Routing) และความปลอดภัย (Security) ซึ่งรายละเอียดแสดงในตารางที่ 2


 สรุป

     การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ IPv4 ที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบันมีแนวโน้มว่ากำลังจะถูกใช้หมดไปในเวลาอัน ใกล้นี้ ดังนั้น IPv6 จึงเป็นทางออกทางเดียว โดยได้มีการพัฒนาปรับปรุงตัว Protocol เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติต่างๆ ที่เหนือกว่า IPv4 อีกด้วย

     ด้วยความไม่พอเพียงของ IPv4 ที่กำลังจะหมดไป และคุณสมบัติที่เหนือกว่าอย่างมากของ IPv6 ไม่ช้าก็เร็วทุกภาคทุกหน่วยงานจำเป็นต้องนำ IPv6 มาใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ และต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายให้รองรับกับการใช้งาน IPv6 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้บริโภคในการใช้งานอิน เทอร์เน็ตและการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ดังนั้นผู้ให้บริการเหล่านี้ควรมีการศึกษาวางแผนเตรียมพร้อมล่วงหน้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการนำ IPv6 มาใช้ในอนาคต โดยผู้ให้บริการควรสำรวจอุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถรองรับกับ IPv6 และวางแผนเตรียมพร้อมในการปรับปรุงโครงข่ายของตน ในส่วนของผู้พัฒนา product และแอพพลิเคชั่นก็สามารถที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ โดยศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อคิดค้นออกแบบพัฒนา product หรือแอพพลิเคชั่นที่รองรับกับ IPv6 ซึ่งเหล่านี้ควรมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะเมื่อถึงเวลาที่ IPv4 หมดลงจริงๆ ผู้ที่พร้อมมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ นอกจากนี้ความเร็วในการเข้ามาและการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการเพิ่ม โอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย